สำหรับการใช้งานภายในอาคารตามสำนักงานและการให้แสงสว่างตามบ้านเรือนและห้องต่างๆนั้นจะนิยมใช้โคมดาวน์ไลท์ LED เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างที่มีขนาดเล็กและมีความเหมาะสมกับพื้นที่ต่างๆ อย่างหลากหลาย โดยการออกแบบการให้แสงสว่างของโคมดาวน์ไลท์ LED สามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
ประเภทแรกการให้แสงสว่างเฉพาะพื้นที่ เป็นการให้แสงสว่างที่มีการออกแบบการให้แสงสว่างที่สอดคล้องกับการใช้งานในแต่ละพื้นที่ โดยก่อนการติดตั้งโคมไฟให้แสงสว่างในแต่ละครั้งผู้บริโภคจะต้องมีการออกแบบว่าจะใช้โคมไฟประเภทใด ให้แสงสว่างแบบใด เพื่ออะไร เช่น การติดตั้งโคมดาวน์ไลท์ห้องนอน เพื่อให้แสงสว่างภายในห้องนอน จะต้องใช้โคมดาวน์ไลท์ LED ที่ให้แสงวอร์มไวท์หรือแสงอบอุ่น ซึ่งจะเป็นแสงสว่างที่ทำให้สายตารู้สึกผ่อนคลายและเกิดการพักผ่อน
ประเภทที่สองการให้แสงสว่างทั่วพื้นที่ เป็นวิธีการให้แสงสว่างจากโคมดาวน์ไลท์สี่เหลี่ยม โคมดาวน์ไลท์ LED หรือโคมไฟที่ให้แสงสว่างอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอในทุกๆพื้นที่ การให้แสงสว่างแบบนี้จะมีข้อดีในเรื่องของความสว่างที่สม่ำเสมอ สามารถปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานและเคลื่อนย้ายสิ่งของที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ เพื่อที่จะใช้งานในรูปแบบอื่นได้ง่าย แต่จะมีข้อเสียในเรื่องของการสิ้นเปลืองพลังงาน เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วพื้นที่แต่ละพื้นที่จะมีความต้องการในการใช้แสงสว่างที่ไม่เท่ากัน บางพื้นที่อาจมีความต้องการใช้แสงสว่างมาก บางพื้นที่อาจมีความต้องการใช้แสงสว่างน้อย ดังนั้นการให้แสงสว่างในรูปแบบนี้อาจเป็นการสิ้นเปลืองหากมีการให้แสงสว่างในพื้นที่ที่ไม่มีความจำเป็นที่จะใช้งาน
ประเภทที่สามการให้แสงสว่างเฉพาะตำแหน่ง เป็นการให้แสงสว่างที่มีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละพื้นที่ ส่วนมากจะเป็นพื้นที่ภายในห้องทำงาน และห้องปฏิบัติการต่างๆที่มีความต้องการต้องการแสงสว่างเพิ่มเติมจากที่ติดตั้งโคมไฟให้แสงสว่างไว้ เช่น มีการติดตั้งโคมดาวน์ไลท์ LED PHILIPS ที่ห้องทำงานและมีการติดตั้งโคมไฟตั้งโต๊ะ เพื่อเพิ่มแสงสว่างบริเวณโต๊ะทำงาน แต่ทั้งนี้การให้แสงสว่างแบบนี้จะต้องมีการควบคุมทิศทางแสงให้ดี เพื่อเพิ่มความสบายตาในการปฏิบัติงานของคนที่อยู่ในพื้นที่นั้น
ซึ่งในการติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างภายในสถานที่ห้องบรรยายนั้นสามารถติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างได้หลากหลายรูปแบบ แต่ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงการให้แสงสว่างที่เหมาะสมมากกว่าความสวยงาม เพราะวัตถุประสงค์หลักของห้องบรรยายคือเพื่ออธิบายข้อมูล ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้แสงสว่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น และทำความเข้าใจ ดังนั้นควรติดตั้งโคมไฟให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น การติดตั้งโคมดาวน์ไลท์ LED ตามบริเวณต่างๆของห้องบรรยาย จะทำให้ได้แสงสว่างที่ทั่วถึง เพื่อให้สายตาของผู้ที่มาฟังบรรยายสามารถมองเห็นข้อความและเนื้อหาในการบรรยายอย่างชัดเจน
ทั้งนี้การติดตั้งโคมดาวน์ไลท์ LED หรือ โคมไฟดาวน์ไลท์สี่เหลี่ยม ภายในห้องบรรยาย ควรระวังในเรื่องของการบให้แสงสว่างที่มากเกินไปจนเกินแสงสะท้อน ทำให้ผู้มาฟังการบรรยายมองเห็นเนื้อกาที่จะบรรยายบนหน้าจอไม่ชัดเจน รวมไปถึงการเกิดแสงสะท้อนจากผนัง กำแพง หน้าต่าง กระจก และแสงสว่างจากด้านนอก
ในส่วนของวิธีการแก้ไขการเกิดแสงสะท้อนภายในห้องบรรยายนั้นให้แก้ไขตามสาเหตุของการเกิดแสงสะท้อน เช่น หากแสงสะท้อนเกิดจากแสงที่เข้ามาจากด้านนอกทางหน้าต่าง ให้ทำการตรวจสอบว่าสามารถปิดแสงสว่างภายนอกได้หรือไม่ แต่หากเป็นแสงแดดให้ทำการหาผ้ามาปิดที่หน้าต่าง และหากแสงสะท้อนนี้เกิดจากกำแพงให้ทำการเปลี่ยนสีกำแพงเป็นสีด้าน ห้ามทาสีกำแพงด้วยสีเงา หรือสีอื่นนอกจากสีขาว นอกจากนี้ในขณะทำการบรรยายทุกครั้งควรมีการปิดโคมดาวน์ไลท์ LED ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ฟังบรรยายสามารถมองเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจน แต่หากมีความจำเป็นที่จะจดบันทึกให้ทำการเปิดโคมดาวน์ไลท์ LED แค่เพียงบางส่วน เพื่อให้สามารถทำการจดบันทึกได้
ดังนั้นการทำสวิตซ์เปิดปิดโคมดาวน์ไลท์ LED ภายในห้องบรรยายนั้นควรทำสวิตซ์เปิดปิดโคมเป็นตัวๆ หรือแค่บางส่วน ไม่ควรมีสวิตซ์เปิดปิดควบคุมแสงสว่างเพียงตัวเดียว เพราะจะทำให้ยากต่อการควบคุมแสง และลำบากในการเปลี่ยนหลอดไฟ เมื่อเกิดปัญหาหลอดไฟดาวน์ไลท์เสีย
นอกจากการติดตั้ง โคมดาวน์ไลท์ LED PHILIPS เพื่อให้แสงสว่างภายในห้องบรรยายแล้ว ผู้ประกอบการหรือสถาปนิกอาจออกแบบการให้แสงสว่างห้องบรรยายได้ด้วยโคมไฟประเภทอื่น เช่น โคมตะแกรงแอลอีดี โคมฟลูออเรสเซนต์ โดยสามารถจัดโคมไฟเหล่านี้ให้มีทิศทางตามการมองเห็น เพื่อให้แสงสว่างส่องไปตามทางที่เรามอง นอกจากนี้แสงสว่างภายในห้องบรรยายควรอยู่ที่ 500 ลักซ์ และหากเป็นห้องบรรยายขนาดใหญ่ที่จะต้องมีเวที ให้มีแสงสว่างบริเวณหน้าเวทีที่ 700 ลักซ์